วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของสมุนไพรจีน


~"สมุนไพรยาจีน"~


        ยาจีนเป็นสารประกอบประเภทยาที่ใช้ในการป้องกัน วินิจฉัยและรักษาโรค ของแพทย์แผนโบราณจีน ที่สำคัญมาจากสมุนไพรธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ยาแปรรูป ซึ่งรวมทั้งยาที่มาจากพืช ยาที่มาจากสัตว์ ยาที่มาจากแร่ธาตุและผลิตภัณฑ์ยาที่ได้จากสารเคมีบางส่วนกับยาที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตเป็นต้น  การคิดค้นและการประยุกษ์ใช้ยาจีนในประเทศจีน มีประวัติมานานหลายพันปีแล้ว แต่คำว่า”ยาจีน”เป็นคำที่เกิดขึ้นในภายหลังค่อนข้างมาก  หลังจากการแพทย์แผนตะวันตกเผยแพร่เข้าสู่จีนแล้ว  เพื่อแยกการแพทย์สองประเภทออกจากกัน จึงได้มีคำว่า”ยาจีน”เกิดขึ้น
ประวัติย่อของยาจีน
      ในประวัติศาสตร์จีน มีนิทานพื้นเมืองเล่าว่า
”นายเสินหนงรองกินสมุนไพรร้อยชนิด ... วันหนึ่งถูกพิษถึง 70 ชนิด” สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการที่ยากลำบากในการแสวงหาและค้นพบยาสมุนไพร ซึ่งเป็นการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับธรรมชาติและโรคภัยใข้เจ็บของชาวจีนโบราณ และก็แสดงให้เห็นว่า ยาจีนได้มากจากการใช้แรงงานที่แท้จริง
      ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ย ซาง โจว(ประมาณปลายศตวรรษที่ 22 ก่อนคริสต์ศักราช--ปี256ก่อนคริสต์ศักราช) จีนก็มีเหล้ายาและน้ำยาเกิดขึ้นแล้ว  “คัมภีร์ซือจิง”ของราชวงศ์ซีโจว(ประมาณศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช --ปี771ก่อนคริสต์ศักราช)เป็นหนังสือที่มีบันทึก เกี่ยวกับยาฉบับเก่าแก่ที่สุดที่จีนรักษาไว้ในปัจจุบัน ส่วน“คัมภีร์เน่ยจิง” ซึ่งเป็นตำราแพทย์แผนจีนเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันได้เสนอทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับการรักษาเช่น”ให้อุ่นตัวผู้หนาวเย็น และให้ผู้ร้อนตัวเย็นลง” “อู่เว่ยสั่วรู่(ความสัมพันธ์ระหว่างรสชาติทั้ง 5 คือเปรี้ยว เผ็ด ขม เค็ม หวานกับอวัยวะทั้ง 5 ในร่างกายคือตับ ปอด หัวใจ ตับ ม้าม)”และ”การบำรุงและระบายอวัยวะทั้ง 5 ”เป็นต้น ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานทางกทฤษฎีให้กับยาจีน
      “คัมภีร์สมุนไพรเสินหนง”ของราชวงศ์ฉินและฮั่น(ปี 221 ก่อนคริสต์ศักราช-ปีค.ศ.220)เป็นตำราเภสัชวิทยาเก่าแก่ที่สุดที่จีนมีอยู่ในปัจจุบัน  ได้รวบรวมและสรุปข้อมูลทางเภสัชวิทยา จากนายแพทย์จำนวนมาก  หนังสือเล่มนี้ได้บันทึกยา 365 ชนิด ซึ่งยังใช้ในการรักษาพยาบาลในปัจจุบัน  หนังสือเล่มนี้เป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า เภสัชวิทยายาจีนได้ก่อรูปขึ้นในขั้นต้นแล้ว
      สมัยราชวงศ์ถึง(ปีค.ศ.618-ค.ศ.907) เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาของยาจีน รัฐบาลถังได้บรรลุความสำเร็จในการเรียบเรียง”ถังเปิ่นฉ่าว”ซึ่งเป็นตำรายาสมุนไพรฉบับแรกในโลก หนังสือเล่มนี้ได้บันทึกตัวยาไว้ 850 ชนิด และได้เพิ่มภาพวาดของยาชนิดต่างๆไว้ด้วย นับว่าได้ปรับปรุงยาสมุนไพรจีนให้มีความเป็นวิทนาศาสตร์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
      เมื่อถึงราชวงศ์หมิง(ปีค.ศ.1368-ค.ศ.1644) นายหลี่ สือเจิน นักเภสัชศาสตร์ได้ใช้เวลา 27 ปีในการแต่ง
”โครงร่างและรายละเอียดของตำรายาสมุนไพร”(เปิ่น ฉ่าว กาง มู่)
ที่ได้บันทึกตัวยาไว้ 1,892 ชนิด ถือเป็นตำราที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติยาสมุนไพรของจีน
      นับตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้นเมื่อปีค.ศ.1949 เป็นต้นมา
จีนได้ดำเนินงานวิจัยและศึกษาเกี่ยวกับยาจีนในหลายด้าน ซึ่งรวมทั้งพฤกษศาสตร์  วิชาวิเคราะห์จำแนก วิชาเคมี เภสัชศาสตร์ และแพทยศาสตร์ในด้านการรักษาพยาบาลเป็นต้น ได้เสนอรากฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับการกำหนดแหล่งที่มาของ
ยา การพิสูจน์จำแนกยาสมุนไพร ตลอดจนการอธิบายสรรพคุญของตัวยา  บนพื้นฐานการสำรวจแหล่งที่มาของยาสมุนไพรทั่วประเทศ ปีค.ศ.1961 ได้มีการเรียบเรียงหนังสือเรื่อง”อักขรานุกรมยาจีน” ฉบับทั่วประเทศและฉบับท้องถิ่นขึ้น และปีค.ศ.1977 ได้ตีพิมพ์จำหน่าย”พจนานุกรมยาจีน”ซึ่งได้บันทึกตัวยาจีนไว้มากถึง 5,767 ชนิด พร้อมกันนี้ หนังสือคู่มือเกี่ยวกับยาจีน บทประพันธ์ด้านยาจีนในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ และหนังสือพิมพ์ นิตยาสารที่เกี่ยวข้องกับยาจีนมากมายหลายอย่างก็ปรากฎขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้มีการก่อตั้งองค์กรวิจัย ศึกษา สอนและผลิตเกี่ยวกับยาจีนต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ทรัพยากรยาจีน
      จีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล มีภูมิประเทศสลับซับซ้อน และมีหลายฤดูกาล ทำให้จีนมีภาวะนิเวศที่แตกต่างกันหลายแบบซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับการเติบโตของยาสมุนไพรที่มีมากมายหลายชนิด ปัจจุบัน จีนได้ลบุกเบิกและใช้ยาสมุนไพรกว่า 8,000 ชนิด ในนี้มี 600 กว่าชนิดเป็นยาที่นิยมใช้กัน ไม่ว่าชนิดหรือปริมาณ ต่างก็จัดอยู่ในอันดับแรกของโลก  ยาจีนนอกจากจะสอดคล้องกับความต้องการ ภายในประเทศแล้ว ปัจจุบัน ยาจีนยังได้ส่งออกไปยัง 80 กว่าประเทศและเขตแคว้นมีชื่อเสียงอย่างมากในโลก
การประยุกต์ใช้ยาจีน
      การใช้ยาจีนมีประวัติมายาวนาน และก็มีบทบาทสำคัญยิ่ง
ต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของประชาชาติจีน จนถึงปัจจุบัน ยาจีนก็ยังมีฐานะสำคัญในการรักษาดูแลสุขภาพของประชาชน  ทฤษฎีและประสบการณ์ในการใช้ยาสมุนไพรจีนนั้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของวัฒนธรรมจีน  ยาจีนส่วนใหญ่ได้มาจากยาธรรมชาติ  มีผลข้างเคียงน้อย และยาชนิดหนึ่งจะรวมสารหลายชนิด นำไปใช้ในการรักษาโรคได้หลายอย่าง  และยาจีนมักจะใช้ยาหลายชนิดผสมเข้าด้วยกัน ด้วยการผสมยาที่สมเหตุสมผล ทำให้สามารถใช้รักษาโรคที่รักษายากและให้ได้ผลมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดผลข้างเคียงให้น้อยลงด้วย
      การประยุกต์ใช้ยาจีนถือทฤษฎีแพทย์แผนโบราณจีนเป็นพื้นฐาน และถือผลที่ได้มาจากการรักษาโรคด้วยยาชนิดต่างๆเป็นหลักฐาน  ผลการรักษาด้วยยาจีนกำหนดโดยสรรพคุณหรือลักษณะของตัวยา   สรรพคุณของยาจีนที่สำคัญมีลมปราณ(ชี่) 4 และกลิ่น 5 (หนาว ร้อน อุ่น เย็นและเปรี้ยว ขม หวาน เผ็ดเค็ม) การเพิ่มขึ้นลดลง การลอยสู่ผิวการจมลงลึก การคืนพลังและความเป็นพิษ  เพื่อใช้ยาจีนอย่างมีผลและปลอดภัย ต้องเข้าใจรับรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการผสม ข้อต้องห้าม ปริมาณที่ใช้ วิธีรับประทานและการปรับยาของยาจีน การผสมยาคือการเลือกใช้ยาหลายชนิด ผสมเข้าด้วยกันตามสภาวะโรคและสรรพคุณของยาที่แตกต่างกัน  ข้อต้องห้ามคือ ข้อต้องห้ามในด้านการผสมยา ข้อต้องห้ามในช่วงตั้งครรภ์ ข้อต้องห้ามในอาหารการกินและข้อต้องห้ามเกี่ยวกับอาการโรค ผริมาณที่ใช้คือบริมาณของตัวยาที่ใช้ในการรักษาพยาบาล ซึ่งรวมทั้ง ยาชนิดเดียวและบริมาณของยาสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่รับประทานต่อวัน
และก็รวมทั้งสัดส่วนของยาชนิดต่างๆในยาแต่ละชุด
วิวัฒนการของยาจีน
ทิศทางแห่งการวิจัยยาจีนในอนาคตคือ การผลิตยาจีน ในขณะเดียวที่สืบทอดประสบการณ์การผลิตที่มีมาแต่ดั้งเดิม ก็จะต้องลงแรงในการคัดเลือกพันธ์ที่ดี เช่นงานวิจัยทางด้านการ ใช้รังสีไอโซโทป(isotope)ในการเพาะพันธ์และวิศวกรรมชีวภาพเป็นต้น เพิ่มการนำเข้าและเพาะปลูกสมุนไพรชนิดที่มีความต้องการทางบริมาณมาก เช่นชะเอม หวางฉินและไฉหูเป็นต้น ตลอดจนยาสมุนไพรป่านำเข้ากว่า 20 ชนิด
โดยเฉพาะงานวิจัยเพื่อป้องกันเมล็ดพันธุเสื่อมถอยและเสริมงานสำรวจและบุกเบิกพัฒนาแหล่งทรัพยากรใหม่


http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter13/chapter130301.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น